วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

แบบทดสอบ

คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
1. อาณาจักรสุโขทัยมียุคที่รุ่งเรืองที่สุดอยู่ในสมัยของกษัตริย์พระองค์ใด
ก.พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ข.พ่อขุนรามคำแหง ค.พญาไสลือไทย ง.พ่อขุนบานเมือง
2. อาณาจักรสุโขทัยตกเป็นเมือขึ้นของกรุงศรีอยุธยาในสมัยของกษัตริย์พระองค์ใด
ก.พญาไสลือไทย ข.พ่อขุนบานเมือง ค.พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ง.พ่อขุนรามคำแหง
3. การปกครองหัวเมืองหรือการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยสุโขทัยแบ่งหัวเมืองออกเป็นกี่ประเภท
ก.5 ข.7 ค.2 ง.3
4. เมืองที่มีความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์คือเมืองใด
ก.หัวเมืองชั้นนอก ข.เมืองประเทศราชค.หัวเมืองชั้นใน ง.เมืองพระยามหานคร
5. เมืองที่มีสิทธิ์ในการปกครองตนเอง และต้องส่งเครื่องราชบรรณาการคือเมืองใด
ก.เมืองหน้าด่าน ข.หัวเมืองชั้นนอก ค.หัวเมืองชั้นใน ง.เมืองประเทศราช
6. ตัวอักษรที่พ่อขุนรามคำแหงประดิษฐ์ขึ้นเรียกว่าอะไร
ก.ตัวอักษร ข.ลายสือไทย ค.ลายกนก ง.ตัวหนังสือไทย
7. เมืองใดมีหน้าที่เตรียมเสบียงอาหารเพื่อช่วยเหลือยามเกิดศึก
ก.หัวเมืองชั้นนอก ข.เมืองประเทศราช ค.เมืองลูกหลวง ง.หัวเมืองชั้นใน
8. กฎหมายใดที่ไม่ปรากฎในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง
ก.กฎหมายมรดก ข.กฎหมายค้าขาย ค.กฎหมายภาษี ง.กฎหมายการศึกษา
9. พระมหากษัตริย์องค์ใดที่ทรงออกกฎหมายเกี่ยวกับศักดินา
ก.พระมหาธรรมราชาที่1 ข.สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ค.พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ง.พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
10. ข้อใดไม่สอดคล้องกัน
1.กรมเวียง - พระยมทรงสิงห์2. กรมวัง - เทพดาทรงโค3. กรมคลัง - บัวแก้ว4. กรมนา - เทพดาทรงโค
ก.ข้อ 1ข.ข้อ 2 ค.ข้อ 3 ง.ข้อ 4

การปกครองสมัยสุโขทัย


การปกครองสมัยสุโขทัย
อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราชมีอาณาเขตทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็น และภูเขาพนมดงรักทิศตะวันตกจรดเมืองหงศาวดี ทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์อาณาจักรสุโขทัย เสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัยแก่ พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาในปีพ.ศ.1921 และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติตต่อกันมาอีก 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981
การปกครองก่อนสมัยสุโขทัยลักษณะการปกครองของสมัยสุโขทัย
ลักษณะการปกครองของสมัยสุโขทัย เป็นการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรหรือการปกครองคนในครอบครัว (Paternalism) คือพระมหากษัตริย์เป็นเสมือนพ่อหรือข้าราชการบริพารเปรียบเสมือนลูกหรือคนในครอบครัวทำการปกครองลดหลั่นกันไปตามลำดับ ศาสตราจารย์ James N. Mosel ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการปกครองของไทยในสมัยกรุงสุโขทัยไว้ว่ามีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ มีลักษณะเป็นการปกครองแบบพ่อปกครองลูกกับการดำเนินการปกครองแบบหัวเมืองขึ้น มีลักษณะคล้ายเจ้าผู้ครองนครกับยังได้ย้ำว่า การปกครองแบบหัวเมือง หรือเจ้าผู้ครองของไทย แตกต่างกับระบบเจ้าผู้ครองนครของยุโรปอย่างไรก็ดี สำหรับการปกครองแบบบิดากับบุตรนี้ในปาฐกถาของ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่องลักษณะการปกครองประเทศสยาม แต่โบราณได้อธิบายไว้ว่าวิธีการปกครองในสมัยสุโขทัยนั้น นับถือพระเจ้าแผ่นดินอย่างบิดาของประชาชนทั้งปวงวิธีการปกครองเอาลักษณะการปกครองสกุลมาเป็นคติ เป็นต้น บิดาปกครองครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมกันเป็นบ้านอยู่ในปกครองของพ่อบ้าน ผู้อยู่ในปกครอง เรียกว่า ลูกบ้าน หลายบ้านรวมกันเป็นเมืองถ้าเป็นเมืองขึ้นอยู่ในความปกครองของพ่อเมือง ถ้าเป็นประเทศราชเจ้าเมืองเป็นขุนหลายเมืองรวมกันเป็นประเทศที่อยู่ในความปกครองของพ่อขุน ข้าราชการในตำแหน่งต่าง ๆ เรียกว่าลูกขุน วิธีการปกครองของไทยเป็นอย่างบิดาปกครองบุตรยังใช้หลักในการปกครองประเทศไทยมา จนเปลี่ยนแปลงการปกครอง คำว่าปกครองแบบพ่อปกครองลูกนี้มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อจิตใจของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง พระเจ้าแผ่นดินสมัยสุโขทัยตอนต้น ประชาชนมักใช้คำแทนตัวท่านว่าพ่อขุน จนเมื่ออิทธิพลของขอมเข้ามาแทรกแซงก็ได้เปลี่ยนไปใช้คำว่าพระยาเสียทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับกษัตริย์ ซึ่งเดิมเปรียบเสมือนพ่อกับลูกได้กลายสภาพเป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายไป
การปกครองระบบบิดากับบุตรนี้พระมหากษัตริย์ในฐานะบิดา ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาดถ้าได้พิจารณาถ่องแท้แล้วก็จะเห็นว่าถ้าผู้ปกครองประเทศคือ พระมหากษัตริย์ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมให้ความร่มเย็นเป็นสุขแก่ราษฎรเสมือนหนึ่งบุตรประชาชนก็ย่อมจะได้รับความผาสุกแต่ถ้าการปกครองดังกล่าวมีลักษณะเป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายสวัสดิภาพของประชาชนในสมัยนั้นก็น่าจะไม่มีความหมายอะไร อย่างไรก็ดีการที่จะใช้ระบบการปกครองอย่างใดจึงเหมาะสมนั้นนอกจากขึ้นอยู่กับภาวะการณ์ต่างๆในแต่ละสมัยแล้วการเลือกใช้วิธีการปกครองระบบบิดากับบุตรในสมัยนั้นน่าจะถือเอาการปกครองประเทศเป็นนโยบายสำคัญ
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ความสำเร็จบรรลุอุดมการณ์ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงหลายประการ ตราบใดที่ประชาชนในยุคประชาธิปไตยยังรำลึกว่าตนอยู่ในฐานะบุตรที่ผู้ปกครองในฐานะบิดาจะต้องโอบอุ้มตลอดไปบุตรคือประชาชนก็จะขาดความรับผิดชอบละขาดความสำนึกในทางการเมืองที่จะปลูกฝังและเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยได้เช่นกัน หากผู้ปกครองต้องอยู่ในฐานะบิดาที่คอยโอบอุ้มและกำหนดความต้องการของประชาชนในฐานะบุตรแล้ว ความเป็นประชาธิปไตยที่จะให้บรรลุอุดมการณ์แท้จริงก็เป็นสิ่งที่หวังได้โดยยาก
กรุงสุโขทัย
อาณาเขต
สภาพเศรษฐกิจและสังคม